บทความ

รูปภาพ
มหาลัยที่ชื่นชอบ ประวัติ มหาวิทยาลัย ศรีปทุมเป็น 1 ใน 5 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อ 28พฤษภาคม พ.ศ. 2513 โดย ดร.สุข พุคยาภรณ์ ผู้ที่มีความเชื่อว่า "การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ" มหาวิทยาลัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนี ทรงพระราชทานนามว่า "ศรีปทุม" พร้อมความหมายว่า "เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว" รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินเปิดป้ายสถาบันและพระราชทานปริญญาบัตร อนุปริญญา และประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ 1-3 และเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐบาล และตอบสนองความต้องการของเยาวชนในส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัยจึงได้ขยายวิทยาเขตออกไปในปีการศึกษา 2530 โดยได้จัดตั้งวิทยาเขตที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2530 ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความต้องการ

เทคนิคการอ่านหนังสือ

เทคนิคการอ่านหนังสือ 1.อ่านหน้าสรุปก่อน   อ่านตอนจบก่อนเลย หนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิตของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ในทางกลับกัน บทส่งท้าย หรือบทสรุป 2.ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ   ความจริงแล้ว การไฮไลต์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือ การไฮไลต์ข้อความหัวข้อสรุป หรือใจความสำคัญเด่นๆ เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว 3.ดูสารบัญและหัวข้อย่อย   ทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อย่างดี เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ 4.ขวนขวายกันสักนิด    แทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มี

หนังสือเล่มโปรด

รูปภาพ
หนังสือเล่มโปรด นิทานอีสป: เรื่อง ดอกกุหลาบกับผีเสื้อ    กาลครั้งหนึ่ง ผีเสื้อเคยตกหลุมรักดอกกุหลาบแสนสวย ส่วนกุหลาบก็ตอบรับเป็นอันดี เพราะปีกผีเสื้อแพรวพราวด้วยลวดลายเป็นประกายสีทองและสีเงินเปี่ยมเสน่ห์ ดังนั้นเมื่อผีเสื้อกระพือปีกเข้ามาใกล้และบอกรักดอกกุหลาบ เธอก็เอียงอายจนหน้าแดงและตอบตกลง หลังจากที่พลอดรักกันอย่างดูดดื่มและพร่ำรำพันถึงความรักที่มั่นคงต่อกัน ผีเสื้อก็บินจากหวานใจของมันมาด้วยความอ่อนโยน           ทว่า อนิจจา นานเหลือเกินกว่าที่มันจะกลับไปหาดอกกุหลาบ        "นี่น่ะหรือความมั่นคงของท่าน"  เธออุทานด้วยน้ำตานองหน้า  "นานเป็นชาตินับแต่ที่ท่านจากไป ตลอดเวลาท่านออกไปควงกับดอกไม้ไม่ซ้ำหน้า ข้าเห็นท่านจุมพิตดอกเจอเรเนียม เห็นท่านเกี้ยวพานดอกมินยอเนตต์จนพวกผึ้งหลวงมาขับไล่ท่านไป ข้าละอยากให้พวกเขาต่อยท่านนัก"       "ความมั่นคงรึ!"  ผีเสื้อหัวเราะขำ  "ข้าจากเจ้าไปไม่นานแต่ก็พอทันเห็นสายลมตะวันตกจูบเจ้า แถมเจ้ายังมีเรื่องอื้อฉาวไม่หยุดหย่อนกับผึ้งมิ้ม แล้วเจ้ายังส่งสายตาให้แมลงทุกตัวที่เห็น เจ้ายังจะหวังความมั่นคงจากข

ประเพณีลอยกระทง

รูปภาพ
ประเพณีลอยกระทง        ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและอากาศเริ่มเย็นลง ตามพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น ซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึง งานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้รู้ทั้งหลายสันนิษฐานต้องตรงกันว่า งานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน วัตถุประสงค์ของวันลอยกระทง      นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่

สรุปวิทยาการคำนวณม.4

รูปภาพ
วิทยาการคำนวณ ศึกษาหลักการของแนวคิดเชิงคำนวณ การแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา การหารูปแบบการคิดเชิงนามธรรม ตัวอย่างและประโยชน์ ของแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณใน การออกแบบขั้นตอนวิธีสำหรับแก้ปัญหา การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา การออกแบบขั้นตอนวิธีการทำซ้ำ การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล ตัวอย่างการออกแบบขั้นตอนวิธีเพื่อแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การศึกษาตัวอย่างโครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การกำหนดปัญหา ศึกษา วางแผน ดำเนินงาน สรุปผลและเผยแพร่ ในการพัฒนาโครงงานที่มีการบูรณาการร่วมกับวิชาอื่นและเชื่อมโยงกับชีวิตจริง   ที่มา: https://krupatsalee.sirin.ac.th/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B
รูปภาพ
เศรษฐกิจพอเพียง     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง  จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ ๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ ๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง